[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
เมนูหลัก
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


เรื่องเล่าชายแดน
  

  หมวดหมู่ : โรคติดต่อชายแดน
เรื่อง : การพัฒนาสารสนเทศ(เว็บไซต์) ตอบโจทย์ปัญหาชายแดนไทย-ลาว
blog name : admin
ระดับ : [ มือใหม่ ] [ หนึ่งในใต้หล้า ]
เข้าชม : 1335
ศุกร์์ ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2564 ปักหมุดและแบ่งปัน
    

การพัฒนาสารสนเทศ(เว็บไซต์) ตอบโจทย์ปัญหาชายแดนไทย-ลาว
วีรพันธ์ ซื่อสัตย์  
                
      การศึกษาวิจัยของ ”โครงการวิจัยการบริหารจัดการโรคและภัยสุขภาพข้ามแดนเมืองคู่ขนาน ไทย-ลาว กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี – แขวงสะหวันนะเขต – แขวงสาละวัน – แขวงจำปาสัก” ซึ่งได้รับจากสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)/มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมี นส.พิมณทิพา มาลาหอม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นหัวหน้าทีมวิจัย โดยในระยะที่ 1 พบว่า 1) ปัญหาสุขภาพโรคติดต่อและภัยสุขภาพข้ามแดน  2) รูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศในการบริหารจัดการโรค ติดต่อ และภัยสุขภาพข้ามแดนเฉพาะเมืองคู่ขนาน ดังนี้ 2.1 มีการลงนามบทบันทึกความตกลงความร่วมมือด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น 2.2 join action plan ร่วมกันระหว่างเมืองคู่ขนาน  2.3 พัฒนาระบบการตรวจคัดกรองและการ identify ผู้มารับบริการที่รพ.เป้าหมาย 2.4 พัฒนาระบบการสื่อสาร/การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ
       ข้อค้นพบในระยะที่ 1 ในข้อ 2.3 และข้อ 2.4 มีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่ง หรือองค์การอื่นๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์   และการพัฒนาเว็บไซต์ ( website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของเว็บเบราว์เซอร์ นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์ชื่อ “เว็บไซต์ทีมพัฒนาวิชาการและวิจัยระหว่างประเทศ จังหวัดอุบลราชธานี (www.ubonstrategy.com/researchteam/index.php) เพื่อพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล, จัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บ, การเข้าถึง, ระบบรักษาความปลอดภัย, สำรองข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามแบบจำลองฐานข้อมูล (Database model) ที่สนับสนุน แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ (Relational model)หรือฐานข้อมูล XML เป็นต้น ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 เว็บไชต์ทีมพัฒนาวิชาการและวิจัยระหว่างประเทศ จังหวัดอุบลราชธานี
การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท ดังนี้
1) รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2) รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง
3) รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relational model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ
การพัฒนาเว็บไซต์จะสามารถออกแบบฐานข้อมูลให้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อแก้ปัญหาระบบการสื่อสาร/การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อคันพบในการวิจัยระยะที่ 1 และสามารถออกแบบประยุกต์ใช้ในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกต่อไป.
     
 
 


Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
admin
ดร.วีรพันธ์ ซื่อสัตย์
10/7/2511
สสจ.อบ.
2 เรื่อง
[ มือใหม่ ] [ หนึ่งในใต้หล้า ]

โรคติดต่อชายแดน 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาสารสนเทศ(เว็บไซต์) ตอบโจทย์ปัญหาชายแดนไทย-ลาว 22/ม.ค./2564